บ้านหลวงประเทืองคดี นายกเทศมนตรีเมืองพิจิตรคนแรก ผู้ริเริ่มสร้างตลาดวังกรด: บ้านตึกหลังแรกในตลาดวังกรด หลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราวของชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ไทยพร้อมกับโฮจิมินห์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2




::: ประวัติของหลวงประเทืองคดี :::

::: อาคารทรงตึกหลังแรกในตลาดวังกรด :::







::: ย่านเก่าวังกรด ตำนานท้องมังกรแห่งลำน้ำน่าน :::

ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ตลาดเก่าที่มีความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากมีการคมนาคมถึง 2 เส้นทาง ทั้งทางรถไฟและทางน้ำ
โดยหน้าตลาดมีทางรถไฟ ท้ายตลาดมีท่าเรือขนส่ง เมื่อเกิดการตัดถนนเข้ามาในพื้นที่นี้ ตลาดก็ซบเซาลง เงียบลงเรื่อย ๆ
จนเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา จึงเริ่มมีการรื้อฟื้นพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งย่านเก่าวังกรดมีจุดเด่นเรื่องอาหารพื้นถิ่น เช่น ผัดไทย หมูสะเต๊ะ สาคูไส้หมู น้ำมะนาวดอง เป็นต้น
::: ไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาดชม :::
- การทำสีบ้านด้วย “ปูนตำ” หรือ “ปูนหมัก” แบบโบราณ ซึ่งจะให้สีขาวนวลในช่วงแรก ก่อนที่จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีครีมอมเหลืองตามกาลเวลา โดยไม่ต้องทาสี ใช้ปูนหมักแบบโบราณ
สีขาวบนผนังบ้านนี้ไม่ใช่สี แต่เป็นปูนตำแบบโบราณ ที่นิยมใช้ในวัดโบราณในจังหวัดสุโขทัยและอยุธยา มีลักษณะเป็นปื้น ไม่ได้ดูเรียบเนียนเหมือนการทาสีทั่วไป เมื่อเวลาผ่านไป ปูนนี้ก็จะกลายเป็นสีครีมอมเหลืองค่ะ - การทำห้องใต้ดินกว้างขวาง เพื่อใช้หลบภัยจากการทิ้งระเบิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ซ่อนชาวเวียดนามอพยพ และใช้เก็บสมบัติเนื่องจากที่นี่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการทิ้งระเบิดที่บริเวณนี้บ่อยครั้งบ้านหลังนี้จึงต้องสร้างห้องใต้ดินเอาไว้เพื่อเป็นหลุมหลบภัย
ปกติบ้านเรือนในตลาดทั่วไปมักจะทำหลุมหลบภัยขนาดเล็กแต่ที่บ้านหลวงประเทืองคดีให้ผมทำเป็นหลุมหลบภัยขนาดใหญ่เพื่อใช้เป็นทั้งหลุมหลบภัยจากการทิ้งระเบิด เป็นที่ซ่อนตัวของชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยในสมัยนั้น และใช้เป็นที่เก็บสมบัติในอดีตหลุมหลบภัยเคยลึกมากกว่านี้ พื้นเป็นดินแต่เมื่อพื้นที่รอบๆมีการถมดินให้สูงขึ้นจึงทำให้มีน้ำเข้าเข้ามาท่วมขังอยู่ภายในหลุมหลบภัย จนต้องทำให้พื้นสูงขึ้นจนกลายเป็นหลุมตื้น ๆ เช่นในปัจจุบัน
- ชมสถาปัตยกรรมแบบเวียดนามแห่งแรกและแห่งเดียวในชุมชนย่านวังกรด
- ชมหนังสือกฎหมายเก่าแก่ ที่ยังมีการใช้ตัวอักษรและสะกดคำแบบโบราณ
หนังสือกฎหมายที่หลวงประเทืองคดีใช้ว่าความในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เป็นหนังสือเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4, 5, และ 6 ตัวอักษรบางตัวยังคงใช้ตัวอักษรแบบโบราณ รวมไปถึงการสะกดคำแบบโบราณด้วยค่ะ
- ชมกุญแจดอกยักษ์ สัญลักษณ์ของอัยการผู้ทำหน้าที่ไขคดีให้ประชาชน
สำหรับกุญแจดอกยักษ์ที่ตั้งอยู่กลางห้อง ใครเดินผ่านไปมาก็ต้องมองด้วยความสงสัยว่ากุญแจดอกนี้คืออะไร
กุญแจดอกนี้ คือกุญแจที่ผู้ว่าวีระศักดิ์มอบให้ ในวันที่เริ่มเปิดบ้านนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
โดยสาเหตุที่เลือกทำเป็นรูปกุญแจเพื่อสื่อถึงอาชีพอัยการ ผู้ทำหน้าที่ในการไขปัญหาให้กับประชาชนนั่นเองค่ะ
ถ้าใครสนใจเยี่ยมชมบ้านหลวงประเทืองคดี สามารถติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ 0898568945 ได้เลยนะคะ ❤ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านมาจนถึงหน้าสุดท้ายค่ะ ขอบคุณค่ะ
======================================



