ร่วมเป็นหนึ่งพลังรณรงค์ในโครงการ ‘ Whisper of Ovary ’ เนื่องในวันมะเร็งรังไข่สากล
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์มะเร็งในปัจจุบันว่า ประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากถึงประมาณ 120,000 คนต่อปี และมีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
โรคมะเร็งจึงยังก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย เรียกได้ว่า มีคนไทยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากถึง 8 รายต่อชั่วโมง เลยทีเดียว
5 อันดับ โรคมะเร็งของผู้ชายไทย
อันดับ 1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี
อันดับ 2 มะเร็งปอด
อันดับ 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่
อันดับ 4 มะเร็งต่อมลูกหมาก
อันดับ 5 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้หญิงไทย
อันดับ 1 มะเร็งเต้านม
อันดับ 2 มะเร็งปากมดลูก
อันดับ 3 มะเร็งตับและท่อน้ำดี
อันดับ 4 มะเร็งปอด
อันดับ 5 มะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) – พบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งนรีเวช (รองจากมะเร็งเต้านม) แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในกลุ่มมะเร็งนรีเวชทั้งหมด
ร่วมเป็นหนึ่งพลังรณรงค์ในโครงการ ‘ Whisper of Ovary ’ เนื่องในวันมะเร็งรังไข่สากล และเรียนรู้วิธีการรับมือจากภัยเงียบของมะเร็งรังไข่โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อาการของมะเร้งรังไข่มักไม่เฉพาะเจาะจง โดยสัญญาณและอาการหลายอย่างมักพบในสตรีที่มะเร็งมีการแพร่กระจายออกนอกรังไข่แล้ว มะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการผิดปกติ
สัญญาณและอาการที่ควรสังเกต
เราสามารถสังเกตอาการผิดปกติของร่างหายด้บ้าง หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์หรือรู้สึกว่าผิดปกติจากเดิม ควรปรึกษาแพทย์ทันที
- ท้องอืดท้องเฟ้อ
- ปวดในอุ้งเชิงกราน หรือ ปวดท้อง
- แน่นท้อง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทานอาหาร
- ท้องผูกเรื้อรัง
- ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือลำบาก
- ท้องโตขึ้น คลำได้ก้อนในช่องท้อง
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่
เนื่องจากอาการนำของโรคมะเร็งรังไข่ไม่เฉพาะเจาะจง จึงทำให้ตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้า และมักตรวจพบเมื่อมีอาการลุกลามออกไปมากจนทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรหมั่นตรวจเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนัก
เป็นการตรวจหารอยโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มได้ สามารถลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะลุกลามออกไปได้
ตรวจอัลตราซาวน์ (Ultrasound)
มีความไวในการตรวจพบก้อน จึงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก
ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker)
เป็นการตรวจร่วมกับการอัลตราซาวน์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรอง
ตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย
ช่วยในการวินิจฉัยและดูการแพร่กระจายของโรค
ขอขอบคุณข้อมูลจากร่วมงานแถลงข่าวโครงการ ‘Whisper of Ovary’ มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบ ควรใส่ใจตรวจภายในทุกปี โดย สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย และ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
นายแพทย์ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์เฉพาะทาง สาขามะเร็งวิทยานรีเวช ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
นายแพทย์ธัช อธิวิทวัส อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอาบอรุณ เลิศขจรสุข แพทย์เฉพาะทางสาขามะเร็งวิทยานรีเวช สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย / โรงพยาบาลรามาธิบดี
คุณสุมณี คุณะเกษม เซเลบชื่อดังที่กำลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
หมอก้อง – นพ. สรวิชญ์ สุบุญ และ พลอย –ภัทรากร ตั้งศุภกุล เกี่ยวกับการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการรณรงค์ ‘Whisper of Ovary’