สะพานมอญ และ เมืองบาดาล Unseen Thailand แลนมาร์คประจำสังขละบุรีที่ห้ามพลาด!

กลับมาที่ทริปสังขละบุรีของพวกเรากันต่อค่ะ วันนี้จะพาทุกคนไปชมสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็นไฮไลท์สำคัญของสังขละบุรี ที่ไม่ว่าใครก็ต้องแวะมาเยี่ยมชม ถ้าไม่ได้มาที่นี่ ก็เหมือนยังมาไม่ถึงสังขละบุรีเลยทีเดียว!

วิธีเดินทาง: รถตู้ วิ่งมาทางเส้นพุทธมณฑล-นครปฐม-กาญจนบุรี

นั่งๆ นอนๆ หลับๆ ตื่นๆ อยู่ 2-3 ชั่วโมง ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี

คำขวัญประจำจังหวัดกาญจนบุรี
แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

แวะกินข้าวเช้าเติมพลังกันสักหน่อย แล้วก็นั่งรถต่อยาวๆ ไปจนถึง อำเภอสังขละบุรี

 

” สังขละบุรี ” เรียกได้ว่าเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรม 3 เชื้อชาติ อันได้แก่ ไทย มอญ และ กะเหรี่ยง ที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน มีการแลกเปลี่ยนประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามซึ่งกันและกัน ใครที่รักความเรียบร้อย รักธรรมชาติ และรักที่จะเรียนรู้ประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย คุณต้องรักสังขละบุรีอย่างแน่นอนค่ะ

สังขละบุรี
ดินแดนแห่งวัฒนธรรมสามเชื้อชาติ สะพานไม้ ด่านเจดีย์ นทีสามประสบ มรดกทุ่งใหญ่ ไทย กระเหรี่ยง รามัญ สารพันธรรมชาติ อภิวาทหลวงพ่ออุตตมะ เมืองสังขละชายแดน สุดแคว้นตะวันตก

คราวนี้เรามาดูกันบ้างว่าที่สังขละบุรี มีสถานที่ไหนที่มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม และเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญที่อยากแนะนำ

  1. สะพานอุตตมานุสงณ์ หรือ สะพานมอญ
  2. เมืองบาดาล หรือ วัดจมน้ำ: ชมวัดวังก์วิเวการาม (เก่า) วัดศรีสุวรรณ (เก่า) และ วัดสมเด็จ (เก่า) ซึ่งจมน้ำอยู่ภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือ เชื่อนเขาแหลม
  3. วัดเก่าแก่ที่ย้ายมาสร้างใหม่เนื่องจากน้ำท่วม ได่แก่ วังก์วิเวการาม (ใหม่) วัดศรีสุวรรณ (ใหม่) และ วัดสมเด็จ (ใหม่)
  4. เจดีย์พุทธคยา

::: สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ :::

สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือ สะพานมอญ (Wooden Mon Bridge) เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาว 850 เมตร

สะพานแห่งศรัทธา ที่เกิดขึ้นจาก

เชื่อมคนไทยและคนมอญเข้าด้วยกันอย่างแน่นแฟ้น สามารถเดินทางไปมาหาสู่ ติดต่อค้าขาย ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสะดวกสบาย

เดินชมวิถีชีวิตของชาวไทยและชาวมอญที่เดินข้ามสะพาน ค้าขาย และอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

เช้า พระอาทิตย์ขึ้น สะพานมอญ ที่เที่ยวสังขละบุรี

บนสะพานมีน้องๆ ชาวมอญปะแป้งทานาคาแก้มขาวผ่อง นั่งยิ้มแป้นรอช่วยทาแป้งทานาคาให้

เด็กมอญ ชาวมอญ คนมอญ ทานาคา แป้งทานาคา สังขละบุรี สะพานมอญ

แป้ง ทานาคา สะพานมอญ สังขละบุรี
ตัวปั๊มทำจากไม้ มีหลายลาย หลายขนาดให้เลือกตามใจชอบ

ทานาคา มอญ พม่า สังขละบุรี ที่เที่ยวสังขละบุรี เที่ยวสังขละบุรี

 

เครื่องใส่บาตรของแต่ละเจ้าก็จะแตกต่างกันไป สิ่งที่ต้องมีหลักๆ ก็คือ “ข้าวสวย” และ “ดอกไม้”
ส่วนพัดสานสีสวยๆ ที่มีระบายรอบด้านนั้นเป็นของแถมให้กับผู้ใส่บาตร สามารถพกกลับบ้านไปเป็นที่ระลึกได้เลยค่ะ

ตักบาตร ใส่บาตร สะพานมอญ ชุดมอญ สังขละบุรี

โถใส่ข้าวสวยของแต่ละร้านก็จะแตกต่างกัน ทำจากไม้บ้าง พลาสติกบ้าง เหล็กบ้าง สวยงาม วิจิตรบรรจงแตกต่างกันไปค่ะ

 

ชุดมอญ สังขละบุรี กาญจนบุรีชุดมอญ สังขละบุรี กาญจนบุรี

 

::: เมืองบาดาล หรือ วัดจมน้ำ :::

พื้นที่สังขละบุรีในอดีต แต่เดิมมีวัด 3 วัด ได้แก่ (1) วัดวังก์วิเวการาม (2) วัดศรีสุวรรณ และ (3) วัดสมเด็จ (ประวัติความเป็นมาของแต่ละวัด เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ ^_^ )

เมื่อมีการสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ ทำให้น้ำท่วมพื้นที่วัดเดิมทั้ง 3 วัด รวมถึงชุมชนทั้งหมด และสะพานมอญเดิม จนต้องมีการย้ายวัดทั้ง 3 วัด ให้ขึ้นไปอยู่บนเนิน “สามประสบ” มาจนถึงปัจจุบัน

เนิน “สามประสบ” เป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายมารวมกันกัน ได้แก่ แม่น้ำซองกาเลีย รันตี และ บีคลี่

ส่วนวัดเดิมที่ถูกน้ำท่วมนั้น ก็กลายเป็น วัดจมน้ำ / วัดใต้น้ำ เมืองบาดาล (The Sunken Temple) สถานที่ท่องเที่ยว Unseen in Thailand ที่เป็นแลนมาร์คสำคัญของสังขละบุรี ซึ่งเราสามารถเช่าเรือจากสะพานมอญ หรือติดต่อผ่านที่พักเพื่อเดินทางไปชมวัดจมน้ำได้ค่ะ

ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมวัดจมน้ำ คือ ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 
เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อน น้ำในเขื่อนวชิราลงกรณลด จึงทำให้มองเห็นโครงสร้างของวัดจมน้ำได้ชัดเจน (ช่วงที่น้ำลดลงมากๆ เราจะสามารถเข้าไปเดินเล่นในวัดจมน้ำได้ค่ะ)

มาเริ่มกันที่วัดแรกก่อนเลย (เดี๋ยวพิระจะเปรียบเทียบภาพวัดในอดีตกับวัดในปัจจุบันให้ดูกันนะคะ)

 

1. วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตะมะ 

วัดวังก์วิเวการาม (wang wiwekaram temple) ก่อสร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบพม่า ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอำเภอสังขละบุรี

สาเหตุที่เรียกวัดนี้ว่า วัดหลวงพ่ออุตตะมะ เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นโดย หลวงพ่ออุตตะมะ ร่วมกับชาวบ้านซึ่งเป็นผู้อพยพ ทั้งชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ แต่เดิมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่ บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (ใกล้ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า)

วัดจมน้ำ วัดใต้น้ำ เมืองบาดาล วัดวังก์วิเวการาม สังขละบุรี

 

คราวนี้เราไปดูวัดวังก์วิเวการาม ที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันบ้างนะคะ ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจมากมาย ไปชมกันเลยค่ะ!

ศาลาหลวงพ่ออุตตะมะ

เป็นศาลาที่เก็บสังขารของหลวงพ่ออุตตะมะ

รูปวัด

ภายในศาลาเป็นปราสาท 9 ยอด ศิลปะแบบไทยรามัญที่สวยงาม

ก่อนที่จะเข้าไปด้านใน หากใครนุ่งสั้นหรือแต่งตัวไม่เรียบร้อย ที่นี่มีผ้าถุงฟรีให้บริการค่ะ ผ้าถุงที่นี่ลายสวยๆ สีสันสดใสน่ารักทั้งนั้นเลย ต่อให้แต่งตัวมาเรียบร้อยแล้วก็ยังรู้สึกอยากสวมอยู่ดีค่ะ

วัดวังก์วิเวการาม สังขละบุรี หลวงพ่ออุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม สังขละบุรี ผ้าถุง ผ้าไทย ผ้าทอ ผ้ามอญ ผ้าพม่า

 

วิหารพระหินอ่อน

ประดิษฐาน ” หลวงพ่อขาว” พระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำจากหินอ่อนสีขาวทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 9 ศอก และมีน้ำหนักถึง 9 ตัน!

เป็นศิลปะแบบประยุกต์ แกะสลักโดยช่างมัณฑะเลย์ หลวงพ่ออุตตมะส่งภาพถ่ายพระพุทธชินราชให้ช่างดูเป็นตัวอย่างในการแกะสลัก และจ้างด้วยทองคำหนัก 25 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมากในสมัยนั้น

ช่างมัณฑะเลย์ใช้เวลาแกะสลักพระประธานเป็นเวลา 1 ปี และขนส่งผ่านเส้นทางทุรกันดาร ทั้งค่ายทหารพม่าและกะเหรี่ยง เพื่อมาประดิษฐานในเมืองไทย อีก 1 ปีครึ่ง สิริรวมแล้ว ทุกคนต้องรอคอยพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นเวลาถึง 2 ปีครึ่ง เลยทีเดียว ซึ่งก็งดงามสมการรอคอยจริงๆ ค่ะ (วิหารนี้ให้ผู้ชายเข้าได้เท่านั้น สาวๆ เข้าไปไม่ได้นะคะ ถ้าหนุ่มๆ ท่านไหนมีโอกาสได้เข้าไปด้านใน ถ่ายรูปมาให้ดูบ้างนะคะ ^_^)

นอกจากพระประธานที่สวยงามแล้ว ยังมีงาช้างแมมมอธที่มีความยาวกว่า 2 เมตร ให้ได้ชมอีกด้วย

 

หอระฆัง

หอระฆัง

ใครที่อยากชมวิวทะเลสาบสังขละบุรี สามารถบริหารกล้ามเนื้อขาด้วยการเดินขึ้นบันไดไปยังหอระฆังได้ โดยหอระฆังแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบมอญ

วิวทะเลสาบสังขละบุรี

 

::: เจดีย์พุทธคยาจำลอง :::

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์จำลองจาก เจดีย์พุทธคยา ( Mahabodhi Temple Complex at Bodh Gaya ) ที่ประเทศอินเดีย หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ริเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521

งบประมาณในการสร้าง มาจากผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมกันบริจาคทั้งเงินสด ทองคำ และวัสดุ รวมไปถึงการร่วมแรงร่วมใจของคนมอญในหมู่บ้านทั้งผู้ชายและผู้หญิง ประมาณ 400 คน มาช่วยกันปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้าง และเผาอิฐมอญขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หนา 3 นิ้ว จำนวนมากถึง 260,000 ก้อน

พ.ศ. 2525 เริ่มสร้างเจดีย์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างและยาว 42 เมตร สูง 59 เมตร ประกอบด้วยเสาเหล็ก 4 ทิศ จำนวน 16 ต้น

พ.ศ. 2532 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา 2 องค์ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร สีขาวใสอมเหลืองเป็นเงาบรรจุในผอบ 3 ชั้น (อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา) และฉัตรทองคำหนัก 400 บาท ขึ้นไปประดิษฐานบนยอดเจดีย์

บริเวณรอบเจดีย์ มีตลาดชุมชนของชาวมอญให้ได้เลือกชม และช็อปปิ้ง สินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์จากไม้ แป้งพม่า เครื่องประดับ ผ้าทอ ที่สวยงามและมีเอกลักษณ์มากมาย

ตลาดชุมชนชาวมอญ

 

 

 

ขอขอบคุณทริปที่แสนสนุกนี้จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภูมิภาคภาคกลาง ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.)

 

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

ประวัติ วัดวังก์วิเวการาม โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

สะพานมอญ

วัดจมน้ำ หรือ วัดใต้น้ำ หรือ เมืองบาดาล (แล้วแต่จะเรียกกัน)

 

สะพานมอญ หรือ สะพานอุตตมานุสรณ์

สะพานไม้ข้ามแม่น้ำซองกาเลีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” คือมีความยาวถึง 850 เมตร และสร้างขึ้นจากความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้านและหล่วงพ่ออุตตะมะ

 

เมืองบาดาล 

 

เขื่อนวชิราลงกรณ์ หรือชื่อเดิมว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ที่ตั้งของ “เขื่อนวชิราลงกรณ์”
ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

 

 

ข้อมูลและแผนที่ เขื่อนวชิราลงกรณ์ โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

คู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สังขละบุรี

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.